วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


                                            หน่วยการเรียนรู้ที่6

                                      นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผล

ในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู

อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

ความหมาย

คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรมทางการศึกษาจึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือ

วิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่

น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ

ถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย

ความสำคัญ

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิด

ประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น

1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง

ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น

การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย

เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้น

ความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย

1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น

นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย

1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย

ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้น

จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อ

นำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้

2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ

ยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ใน

การเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบ

หนึ่งให้กับครูอาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อ

การสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

ขั้นตอน

1. ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน จะต้องมีการ

1.1 กำหนดรูปแบบของผลงาน

1.2 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

1.3 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

2. ขั้นตอนการจัดทำผลงาน

2.1 นำหลักสูตร เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักใน

การจัด

2.2 กำหนดโครงสร้างของผลงาน (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะ

จัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)

3. ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้ เช่น

3.1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง

3.2 ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่

ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในด้าน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่าง

ชัดเจน

4. ขั้นนำผลงานไปใช้

- ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน

5. ผลของการนำไปใช้

- อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือ

นำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

6. ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ

- เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีประโยชน์

อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่

เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา

ขั้นตอนนี้ ควรอธิบายโดยละเอียดว่า ได้มีการเผยแพร่ที่ใด หรือใน

ลักษณะใดบ้าง โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า

- การเผยแพร่ในโรงเรียน

- การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา

รูปแบบนวัตกรรม

นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น

- แผนการสอน

- ชุดการสอน

- คู่มือครู

- บทเรียนสำเร็จรูป

- สไลด์

- ใบความรู้ ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย

- สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

- เกม

- ฯลฯ

เทคนิคในการจัดทำ

1. ในการผลิตสื่อการสอน ควรเน้นในเรื่องความประหยัดและให้เกิด

ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน (ทำจริง ใช้จริง มีประโยชน์ต่อนักเรียนจริง)

2. ต้องมีคู่มือในการใช้สื่อและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถให้รายละเอียดในเรื่องต่าง


- จุดประสงค์ในการสร้างสื่อ

- วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย

- รูปแบบที่ต้นแบบ

- วิธีการทำ/ ผลิต / ประดิษฐ์

- การทดลองใช้/ การปรับปรุงแก้ไข

- ประโยชน์/ การนำไปใช้

- คุณภาพ / ประสิทธิภาพ /

- หลักฐานการนำไปใช้__

นวัตกรรมการศึกษา
(Innovation in Education)
การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่พัฒนาการตามยุค IT นวัตกรรมจึงถูกนำมาใช้กับการศึกษาที่เรียกว่า"นวัตกรรมการศึกษา"(Innovation Education)

"นวัตกรรม" หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆมาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นการนำแนวคิด วิธีการการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา มีระบบที่ดีขึ้น มีคุณภาพ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น

บทบาทของนวัตกรรมเพื่อการศึกษา
การศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต "นวัตกรรม"จึงมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ได้คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรือสิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม การนำวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น
คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนแบบโปรแกรม
ชุดการสอน

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั้นบางท่านคิดถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอนได้แก่
ครูผู้สอน
ผู้เรียน
หลักสูตรเนื้อหา
ทักษะกระบวนการต่างๆ
สื่ออุปกรณ์

นวัตกรรมแนววิธีสอน
นวัตกรรมวิธีสอนเป็นแนวจัดการสอนที่จะนำมาใช้สอนเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ แนววิธีการสอนและเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาใช้สอนที่เหมาะสมกับวิชาที่สอน มีเทคนิควิธีการ ต่างๆ คือ

1. เทคนิค Jigsaw เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนนักเรียนได้ทั้งเล็กและโต เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ


1.ครูแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนเท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของนักเรียน
2.จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อยๆของเนื้อหา
4.ให้นักเรียนที่ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันมารวมกันเป็นกลุ่มใหม่เพื่อร่วมอภิปราย ซักถามให้มีความรู้ความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
5.ให้นักเรียนกลุ่มใหม่แยกย้ายกลับไปกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้รับให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
6.นักเรียนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ นำคะแนนของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม

2. เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) เป็นเทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ใช้กับนักเรียนที่เป็นเด็กเล็กและโตได้

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
3.แบ่งหน้าที่ในกลุ่ม ศึกษาและทำกิจกรรมในใบงาน
4.นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ
5.นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำคะแนนการพัฒนา

3. เทคนิค TGT (Team Games Tournament) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการเรียนการสอนที่ต้องการให้นักเรียนได้สนุกสนานและกระบวนการกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
3.นักเรียนเตรียมความพร้อมให้สมาชิกกลุ่ม โดยการซักซ้อมความรู้ความเข้าใจ ซักถามปัญหาที่ตั้งขึ้นเอง
4.จัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยส่งชื่อผู้เข้าแข่งขัน
5.ประกาศผลการแข่งขัน ชมเชยนักเรียนที่ชนะ
4. เทคนิค GI (Group Inverstigation) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถใช้สอนในวิชาหลักได้ทุกวิชา

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้มีความสามารถเท่ากัน
3.แบ่งเรื่องที่ศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แบ่งเป็นใบงานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฯลฯ
4.นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในใบงาน
5.แต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานหน้าชั้น

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
3.ครูแจกใบงาน
4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มซักซ้อม ทบทวนปัญหาจนสมาชิกในกลุ่มเข้าใจคำตอบ
5.ครูถามคำถามนักเรียนในกลุ่มโดยเรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งตอบคำถาม
6.ชมเชยนักเรียนกลุ่มที่มีสมาชิกตอบได้มากที่สุด
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 6-8 คน
2.ครูแจกใบความรู้
3.นักเรียนช่วยกันระดมความคิด สมาชิกร่วมกันอภิปราย
4.ให้นักเรียนสรุปความคิดที่เป็นเอกฉันท์

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม คือ

1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-8 คน
2.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
3.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น
4.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดอภิปรายถึงสภาพปัจจุบันของปัญหา
5.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ผลกระทบจากปัญหา
6.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
7.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์คิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
8.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา เพื่อร่วมกันคัดเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ


1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนให้คิด ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
กลุ่มที่ 2 ถามความรู้สึก (สีแดง)
กลุ่มที่ 3 ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
กลุ่มที่ 4 หาข้อดี (สีเหลือง)
กลุ่มที่ 5 หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
กลุ่มที่ 6 โครงสร้างกระบวนการคิด
3.กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ

9. เทคนิค Storyline Method เป็นเทคนิคการสอนแบบบูรณการ ใช้สอนได้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนากระบวนการกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.ครูวิเคราะห์เนื้อหาที่เรียน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
3.จัดกิจกรรมตามเนื้อเรื่องที่กำหนดเป็นตอนๆ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
4.กำหนดฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
3.แต่ละกลุ่มตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านกลุ่มละ 10 คำถาม เป็นลักษณะ
คำถาม "จริงหรือไม่"
4.นักเรียนคัดเลือกพิธีกรชาย 1 คน หญิง 1 คน
5.พิธีกรคัดเลือกคำถามจากกลุ่มต่างๆ ประมาณ 10-15 คำถาม
6.พิธีกรเริ่มรายการ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ
7.ถ้ากลุ่มใดตอบผิด ให้กลุ่มตอบถูกเป็นผู้เฉลย
8.แต่ละกลุ่มช่วยบันทึกคะแนนที่ได้

มีข้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
3.นักเรียนตั้งคำถามกลุ่มละ 10 คำถาม
4.ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาตอบคำถาม กลุ่มละ 1 คน
5.ให้นักเรียนเลือกพิธีกร 1 คน คัดเลือกคำถาม 10 ข้อ
ย่อหน้า6.แบ่งกลุ่มการแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่ม
7.นักเรียนเลือกบุคคลที่จะตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้เป็นคะแนนกลุ่ม
8.เปลี่ยนกลุ่มถามคำถาม เลือกบุคคลที่ตอบคำถามโดยไม่ซำกัน
9.ผู้ใดตอบถูกจะได้เป็นคะแนนเก็บเป็นคะแนนสะสมของกลุ่ม

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ

1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แต่ละกลุ่มให้ส่งตัวแทนออกมาใบ้คำ พูดได้ครั้งละ 1 คำ มีโอกาส 3 ครั้ง โดยกำหนดไม่ให้พูดคำในเฉลย
3.ครูแจกบัตรคำให้ทีละกลุ่มใบ้คำ
4.กลุ่มใดตอบได้เก็บเป็นคะแนนกลุ่ม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม
2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา โดยซักซ้อมผู้ที่ออกมาติ้วคำถามกลุ่มละ 1 คน
3.ส่งตัวแทนกลุ่มละ 1 คน แยกเป็น 2 ทีม ทีมละ 4 คน
4.ครูถามปัญหา
5.นักเรียนตอบปัญหาทีละคน ถ้าคนใดตอบผิดจะเปลี่ยนทีมตอบ และคะแนนจะตกเป็นของฝ่ายตรงข้าม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา
3.แต่ละกลุ่มให้ร่วมกันเขียนคำถาม เพื่อวัดความรู้กลุ่มละ 15 คำถาม
4.แต่ละกลุ่มนำคำถามของกลุ่มไปให้กลุ่มอื่นหาคำตอบ โดยกำหนดระยะเวลาที่จำกัด
5.แต่ละกลุ่มหาคำตอบจากคำถามของกลุ่มอื่น

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา และทำบทเรียนหน้าเดียว แบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
2.1 ภาพนำเข้าสู่บทเรียน
2.2 เนื้อหา
2.3 แบบทดสอบ
3.ให้แต่ละกลุ่มนำบทเรียนหน้าเดียวไปใด้เพื่อนแต่ละกลุ่มศึกษา
4.ให้แต่ละกลุ่มค้นหาคำตอบของคำถาม และตรวจสอบความถูกต้องตามเฉลย
5.ครูทดสอบความรู้

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.ครูนำเสนอสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระบุ ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์
4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวินิจฉัย เกี่ยวกับความรู้สึกของแต่ละบุคคลในเหตุการณ์ และให้เหตุผลถึงพฤติกรรมนั้นๆ
5.ให้นักเรียนแต่ละคนบรรยายประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์
6.ให้นักเรียน
แต่ละคนเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเองกับบุคคลในเหตุการณ์